อบรม คปอ

อบรม คปอ ไปทำไม มีความจำเป็นหรือไม่ และคปอ คืออะไร

สำหรับใครก็ตาม ที่กำลังค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับ คปอ. และการอบรม คปอ กับคำถามที่ว่าอบรม คปอ ไปทำไม มีความจำเป็นหรือไม่ และคปอ คืออะไร วันนี้เรามีคำตอบ พร้อมนำเสนอเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ คปอ อันดับแรกเลย ต้องของอธิบายก่อนว่าทำไมต้องมี คปอ โดยตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ซึ่งมีการกำหนดให้กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้อง คปอ.  

คปอ. คืออะไร

คปอ. มาจากคำว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดย คปอ. ประกอบด้วยผู้บริหาร ตัวแทนจากลูกจ้าง และ จป.วิชาชีพเป็นเลขาตามที่กฎหมายกำหนด โดยดำรงวาระตำแหน่ง 2 ปี จริงๆ แล้วเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้องค์กรมีตัวแทนฝ่ายลูกจ้างเข้าไปร่วมในคณะกรรมการขับเคลื่อนในด้านความปลอดภัย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นตัวแทนพนักงานโดยชอบธรรม เพื่อเป็นกระบอกเสียงสำคัญของพนักงานทุกคน เมื่อถึงการประชุม คปอ. ในแต่ละเดือน ตัวแทนลูกจ้างจะทำหน้าที่เสนอความคิดเห็น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานมากขึ้น

ถามว่าการอบรม คปอ. มีการอบรมไปทำไม และตำแหน่งนี้มีความจำเป็นหรือไม่ หากกิจการที่เข้าข่ายตามที่กำหนด แล้วไม่มี คปอ. ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย พรบ. ความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 ความผิดตามมาตรา 56 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 มาตรา 16 หรือ มาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

หน้าที่ของ คปอ. ตามกฎหมาย

เมื่อผ่านการอบรม คปอ แล้วจะมีหน้าที่ตามกฎหมายทั้งหมด 11 ข้อ ดังนี้

1.พิจารณาแผนงานและนโยบายด้านความปลอดภัยทั้งในและนอกงาน เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุต่างๆ

2.เสนอมาตรการหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย

3.ส่งเสริม และสนับสนุน กิจกรรมในด้านความปลอดภัยในการทำงาน

4.พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมถึงเสนอมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง

5.พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย รวมถึงแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง นายจ้าง ผู้บริหาร และหัวหน้างาน รวมถึงบุคลากรทุกระดับ

6.สำรวจ ตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย เก็บสถิติการประสบอันตรายอย่างน้อยเดือนละครั้ง

7.รายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และข้อแนะนำ เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม

8.ติดตามความคืบหน้า เรื่องที่นำเสนอต่อนายจ้าง

9.รายงานการปฏิบัติงานประจำปี และข้อเสนอแนะต่อนายจ้าง

10.ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

11.ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย

หลายคนสงสัยว่าการอบรม คปอ. มีระยะเวลาการอบรมเท่าไหร่ สำหรับหลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน หรือ คปอ. มีระยะเวลาในการอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบไปด้วย 3 หมวดวิชาหลักๆ ได้แก่

หมวดวิชาที่ 1 : การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ

หมวดวิชาที่ 2 : กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน

หมวดวิชาที่ 3 : บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน

ปัจจุบัน การอบรม คปอ หรือการอบ จป. หลายๆ สถาบันเริ่มหันมาพึ่งเทคโนโลยีมากขึ้นด้วยการจัดอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ต้องการอบรม หรือ สถานประกอบการที่ต้องการส่งลูกจ้างเข้ารับการอบรม